ติดฟิล์มลามิน่า บูสต์ชีวิตให้เป็น 1 กับโลกดิจิทัล - Boost Up your Life

อยากรีดประสิทธิภาพระบบ ADAS ให้เต็ม 100 ต้องรู้จักฟิล์มดิจิทัลบูสต์จากลามิน่า

SHARE
เทคโนโลยี-Digital-Boost-ลามิน่า
ถ้าคุณกำลังอ่านบทความนี้อยู่ ต้องยอมรับเลยว่าคุณคือคนหนึ่งที่อาจไม่ได้เลือกซื้อรถยนต์จากปัจจัยภาพลักษณ์ภายนอก หรือระบบการขับขี่พื้นฐานทั่วๆ ไป แต่คุณคือเจ้าของรถที่ใส่ใจในทุกรายละเอียด ไม่เหมือนใคร และต้องการใช้ทุกฟังก์ชันที่มีมาในรถยนต์ให้เกิดประสิทธิภาพสูงสุด หนึ่งในระบบช่วยการขับขี่ที่ยังถือเป็นเรื่องใหม่ในวงการยานยนต์นั่นก็คือ ระบบ ADAS ระบบนี้กำลังเข้ามามีบทบาทในชีวิตการขับขี่นับตั้งแต่ปี 2023 เป็นต้นไปอย่างไร ติดตามรายละเอียดแบบเจาะลึกได้ในบทความนี้ครับ
 
เนื้อหาค่อนข้างเยอะ เลือกอ่านตามหัวข้อได้เลย
 
 

ระบบ ADAS คืออะไร

ระบบ ADAS คืออะไร

ระบบ ADAS คือ “ระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ” (อ่านว่า เอ-ดาส) หรือในชื่อภาษาอังกฤษ คือ Advanced Driver-Assistance System ซึ่งถูกพัฒนาและออกแบบให้ทำหน้าที่ช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้กับผู้ขับขี่ ด้วยการช่วยส่งสัญญาณเตือน จนไปถึงช่วยควบคุมรถเพื่อลดโอกาสการเกิดอุบัติเหตุบนท้องถนน นอกจากนี้ยังเป็นกุญแจสำคัญสู่เทคโนโลยี “รถยนต์ไร้คนขับ” หรือ Self-Driving Car ในอนาคตอันใกล้อีกด้วย
และถ้าหากลามิน่าจะเปรียบเทียบ ADAS เป็นคนๆ นึง เค้าก็คงจะมีอายุมากกว่า 70 ปีครับ (เกิดเมื่อปี ค.ศ. 1950) ที่สำคัญเค้าเก่งมากขึ้นเรื่อยๆ ทุกปี จากจุดเริ่มต้นทำงานด้วยระบบกลไกกึ่งอิเล็กทรอนิคส์ เช่น ระบบป้องกันล้อล็อกขณะเบรก หรือ ABS : Anti-lock Braking System จากนั้นก็ค่อยๆ พัฒนาให้ส่งเสียงเตือนและเห็นภาพขณะถอยหลัง (Backup Camera) จนถึงขั้นเป็นดวงตาแทนเราช่วยควบคุมรถอยู่ในเลนถนนเสมอในทุกขณะการขับขี่ (Lanewatch)
 
ตัวอย่างเทคโนโลยี ADAS ระดับ 2 จากค่ายรถยนต์ไฟฟ้าชื่อดัง
คลิปวิดีโอจาก: Tesla 
 
และนับตั้งแต่การมาเยือนของ Tesla ตั้งแต่ศตวรรษที่ 21 เป็นต้นมา Elon Musk ก็พัฒนาให้ระบบช่วยขับขี่อัตโนมัติสามารถเป็น “โชเฟอร์” พาเราไปถึงจุดหมายปลายทางได้อย่างปลอดภัยเกือบ 100%  โดยที่เจ้าของรถไม่จำเป็นต้องควบคุมรถเลยเสียด้วยซ้ำ (Autopilot) เป็นต้นกำเนิดของรถยนต์ประเภทใหม่ที่รู้จักกันในชื่อ “รถยนต์ไร้คนขับ หรือ Full Self-Driving Car” นั่นเอง
พอเริ่มเห็นภาพแล้วใช่ไหมครับว่า ระบบเทคโนโลยีนี้นั้นมีผลต่อรูปแบบการขับขี่ของรถยุคใหม่อย่างไร เรามาดูกันต่อดีกว่าครับว่าระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ มีการแบ่งหมวดหมู่อย่างไรบ้าง
 
 

ADAS 5 (+1) ระดับ มีอะไรบ้าง

ADAS 5 (+1) ระดับ มีอะไรบ้าง

ปัจจุบันถูกแบ่งตามระดับความสามารถได้ 5 ระดับด้วยกันครับ เรียงตั้งแต่เก่งน้อยไปถึงเก่งที่สุด ก็ได้แก่ Level 1 (L1), Level 2 (L2), Level 3 (L3), Level 4 (L4) และ Level 5 (L5) ส่วนแต่ละระดับมีความแตกต่างกันอย่างไร ลองชมที่อินโฟกราฟฟิกด้านล่างนี้ได้ครับ
 
ระบบ ADAS มีอะไรบ้าง
ภาพอินโฟกราฟิกสรุปรูปแบบการทำงานของระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ
 
  • ADAS L0 (No Automation)

ระบบ: ช่วยส่งสัญญาณเตือนลดความเสี่ยง
ผู้ขับขี่: จำเป็นต้องควบคุมรถเอง 100%
(ถึงแม้จะไม่มีในภาพอินโฟกราฟิกด้านบน แต่ขอเขียนอธิบาย ADAS System L0 เพิ่มเติมตรงนี้นะครับ)  ถ้าคุณได้ยินเสียง “ตี๊ด ตี๊ด” เวลาถอยรถจอดเข้าซอง นั่นแหละครับคือหนึ่งในตัวอย่างของระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะขั้นพื้นฐานบนรถของคุณ หน้าที่หลักๆ ของฟังก์ชันระดับนี้ จะไม่ได้มีส่วนช่วยในการควบคุมรถ แต่ช่วยแจ้งเตือนด้วยเสียงหรือสัญญาณไฟ เพื่อเพิ่มความปลอดภัยให้กับเจ้าของรถ
 
ตัวอย่างระบบ Blind Spot Metering และ Rear Cross Traffic Alert 
เน้นการส่งสัญญาณเตือน โดยไม่ยุ่งเกี่ยวกับการควบคุมรถ
ที่มา: Lexus Drivers
 
ตัวอย่างฟีเจอร์ระดับ L0 เช่น ระบบเตือนเมื่อถอยจอด (Parking Sensors), ระบบช่วยเตือนมุมอับสายตา (BSM: Blind Spot Monitoring), ระบบเตือนการชนด้านหน้า (FCW: Forward Collision Warning), ระบบเตือนเมื่อมีรถอยู่ในจุดอับสายตาขณะถอยหลัง (RCTA: Rear Cross Traffic Alert) เป็นต้น
นอกจากนี้ยังหมายถึงฟังก์ชันช่วยเพิ่มความสะดวกสบายในการขับขี่ที่ไม่เกี่ยวข้องกับการควบคุมรถ อาทิ เซนเซอร์ควบคุมที่ปัดน้ำฝนอัตโนมัติ (Rain Sensors) หรือระบบไฟสูงอัตโนมัติ (Auto high beam) นั่นเองครับ
 
  • ADAS L1 (Driver Assist)

ระบบ: ช่วยควบคุมเบรก, พวงมาลัย, คันเร่ง
ผู้ขับขี่: จำเป็นต้องควบคุมรถเอง 100%
สำหรับ ADAS ระดับ L1 จะเริ่มช่วยผ่อนแรงผู้ขับขี่ ‘ทีละฟังก์ชัน’ เช่น ควบคุมพวงมาลัยอย่างเดียว หรือควบคุมความเร็วอย่างเดียว แต่จะไม่สามารถควบคุมรถหลายๆ ฟังก์ชันในเวลาเดียวกัน
 
ตัวอย่างระบบ Lane Keep Assist
ช่วยคุมพวงมาลัยให้อยู่ในเลน ขณะผู้ขับขี่ควบคุมความเร็ว
ที่มา: Code Expert
 
ยกตัวอย่างฟังก์ชัน Cruise Control แบบดั้งเดิมซึ่งได้กลายมาเป็นมาตรฐานพื้นฐานสำหรับรถยนต์หลากหลายรุ่นนับตั้งแต่ปี 2019 ซึ่งสามารถควบคุมความเร็วรถให้คงที่ได้ แต่ผู้ขับขี่จึงยังจำเป็นต้องจับพวงมาลัยบังคับทิศทางรถอยู่ร่วมกับระบบดังกล่าว ดังนั้นในประเทศสหรัฐอเมริกาจึงให้ชื่อเล่น ระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ L1 ว่าเป็น “Hands on / Shared Control” นั่นเอง
ตัวอย่างฟีเจอร์ระดับ L1 เช่น ระบบคุมรถอยู่กลางเลน (Lane Keep Assist: LKA), ระบบคุมความเร็วอัตโนมัติ (Cruise Control), ระบบช่วยจอดรถอัจฉริยะ (Parking Assist: PA) เป็นต้น
 
  • ADAS L2 (Partial Automation)

ระบบ: ขับเคลื่อนอัตโนมัติในบางสถานการณ์
ผู้ขับขี่: ยังต้องพร้อมควบคุมรถตลอดเวลา
 
นี่คือระบบ ADAS ที่ติดตั้งมากับรถยนต์ B Segment และ Crossover ในปัจจุบันอย่างคึกคัก ไม่ว่าจะเป็น BYD Atto3, Toyota Cross หรือ Honda HRV เป็นต้น ซึ่งพระเอกของระดับ L2 นี้ก็คงจะหนีไม่พ้น Adaptive Cruise Control Stop and Go ที่สามารถรักษาความเร็ว ชะลอรถจนจอดหยุดนิ่ง และออกรถเพื่อรักษาระยะห่างกับรถคันหน้าได้
หากอ่านมาถึงจุดนี้คุณคงพอทราบแล้วใช่ไหมครับว่า ที่ระบบนี้จัดอยู่ในขั้น L2 นั่นก็เพราะ Adaptive Cruise Control Stop and Go จะต้องควบคุมระบบคันเร่งและเบรกไปพร้อมกัน (ต่างจาก L1 ที่ควบคุมได้แค่ทีละฟังก์ชัน) พร้อมรับสัญญาณภาพจากกล้องหน้ารถ นับเป็นเทคโนโลยีเริ่มต้นที่ทำให้ผู้ใช้รถได้มีโอกาสสัมผัสประสบการณ์ “Partial Self Driving Car” เป็นครั้งแรกครับ
 
ระบบ Adaptive Cruise Control ของ Ford
ทำงานร่วมกับ Lane Keep Assist ด้วยนะครับ
ที่มา: Ford Motor Company
 
อย่างไรก็ตามเทคโนโลยีระดับ L2 จะยังไม่สามารถหลบสิ่งกีดขวาง หรือเปลี่ยนเลนได้เองอย่างปลอดภัย ฉะนั้นผู้ขับขี่ยังต้องพร้อมควบคุมรถด้วยตัวเองเสมอครับ อย่าประมาทเลยทีเดียว
ตัวอย่างฟีเจอร์ระดับ L2 เช่น ระบบจอดรถอัตโนมัติ (Auto Parking), ระบบคุมความเร็วอัตโนมัติแบบแปรผัน (Adaptive Cruise Control) และระบบ Adaptive Cruise Control + Lane Keep Assist เป็นต้น
 
  • ADAS L3 (Conditional Automation)

ระบบ: รถขับเคลื่อนเองอัตโนมัติภายใต้เงื่อนไข
ผู้ขับขี่: สามารถทำกิจกรรมอื่นได้ แต่ต้องพร้อมควบคุมรถทุกครั้งที่รถแจ้งเตือน
ระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะ ระดับ L3 คือจุดเริ่มต้นของการพัฒนารถขับเคลื่อนอัตโนมัติอย่างแท้จริงครับ ตัวรถสามารถเร่ง ชะลอ หยุด เปลี่ยนเลนได้เองตามสถานการณ์ที่เหมาะสม การที่เทคโนโลยีระดับ L3 สามารถควบคุมรถได้ชาญฉลาดได้แบบนี้ จำเป็นต้องอาศัยการทำงานของอุปกรณ์ต่างๆ มากมายที่มากับตัวรถ เช่นเซนเซอร์เลเซอร์ (LiDAR), เซนเซอร์สัญญาณวิทยุ (Radar), กล้องหน้ารถอัจฉริยะ ร่วมกับอัลกอริทึ่มภายในรถยนต์
คุณจึงเริ่มที่จะสามารถ ปล่อยมือ ปล่อยเท้า ละสายตา จากถนนได้ “แม้จะเป็นช่วงเวลารถติด” ซึ่งถือว่าเป็นหนึ่งในสถานการณ์ซับซ้อนที่สุดสำหรับการผลิตรถยนต์ไร้คนขับ อย่างไรก็ตาม ระบบช่วยขับขี่ระดับ L3 จะยังคงกำหนดสถานการณ์บางอย่างให้ผู้ขับขี่จำเป็นต้องควบคุมรถเองโดยเฉพาะเหตุการณ์ที่ระบบ AI ตัดสินใจเองได้ยาก เช่น Intelligent Drive จากค่าย Benz S-Class จะแจ้งให้ผู้ขับขี่ควบคุมรถทุกครั้งเมื่อมีรถพยาบาลเข้าใกล้
 
รถติดตั้งระดับ L3 ต้องเปลี่ยนเลน หรือหลบสิ่งกีดขวางได้ครับ
ที่มา: Crosspotter13
ตัวอย่างฟีเจอร์ระดับ L3 เพิ่มเติม อาทิ ระบบช่วยเหลือขับขี่เมื่อจราจรติดขัด (Traffic Jam pilot), ระบบเปลี่ยนเลนอัตโนมัติ (Auto Lane Change), ระบบต่างๆ จาก L0 – L2 ทั้งหมดทำงานสอดประสานพร้อมๆ กัน
 
รู้หรือไม่ ! ทำไม Tesla FSD ระบบช่วยขับขี่ยังอยู่ในระดับ L2
ระบบ FSD (ย่อมาจาก Full Self Driving) จาก Tesla ที่ผู้ใช้รถต้องจ่ายเงินซื้อแพ็จเก็จนี้เพิ่มอีกเกือบ 2 แสนบาท แม้ชื่อจะน่าเย้ายวนใจแค่ไหน แต่ตราบใดที่ Tesla FSD ยังต้องคอยส่งสัญญาณเตือนให้ผู้ขับขี่แตะพวงมาลัยเป็นระยะๆ นั่นหมายความว่า Tesla ยังไม่สามารถทำให้รถขับขี่ได้ด้วยตัวเอง 100% จนผู้ขับขี่สามารถปล่อยมือ และละสายตาได้ (Eyes-Off, Hands-Off) เพราะฉะนั้น Tesla FSD (ณ วันที่ 15 ธันวาคม 65) จึงยังจัดอยู่ในระดับ L2 ไม่ถึง L3 (หรืออาจจะให้เป็น  2.5 ก็ได้นะ)
 
วินาที 0.55 คือตัวอย่างที่ Tesla ยังสอบไม่ผ่าน
ทำให้ผู้ขับขี่ต้องคอยกลับมาควบคุมรถอยู่เรื่อยๆ ครับ
ที่มา: Marques Brownlee
 
  • ADAS ระดับ L4 (High Automation)

ระบบ: ขับเคลื่อนอัตโนมัติเต็ม 100 ในพื้นที่ๆ กำหนด
ผู้ขับขี่: (ไม่จำเป็น) การขับด้วยมือเป็นเพียงทางเลือก
สำหรับเทคโนโลยีระดับ L4 ก้าวข้ามเทคระดับ L3 ด้วยชุดคำสั่งอัลกอริทึม พร้อมซอฟท์แวร์และเฟิร์มแวร์ที่มีความซับซ้อนมากขึ้น โดยทำงานร่วมกับเซนเซอร์รอบตัวรถมากมายแบบ Real-Time เรียกว่าตัวรถจะมีความชาญฉลาดมากขึ้น จนทำให้รถสามารถ “ตัดสินใจเลือกเส้นทางได้เอง ขับขี่แบบไร้คนขับได้ 100%
หนึ่งหัวใจสำคัญของความล้ำหน้าในรถยนต์ระดับ L4 นี้ก็คือ ระบบ Geo-Fencing ซึ่งหมายถึงขอบเขตแผนที่สมมติที่รถยนต์รู้จักสภาพแวดล้อมภายในพื้นที่นั้นเป็นอย่างดี จนสามารถคิด ตัดสินใจ และขับขี่รถแทนมนุษย์ได้ ซึ่งจะว่าไปแล้ว การมีเทคโนโลยีระดับ L4 ติดตั้งอยู่ในรถ ก็แทบไม่ต่างอะไรกับการมีคนขับรถส่วนตัวเลยล่ะครับ (Chauffeur Mode) เพราะฉะนั้น สำหรับรถระดับ L4 ยิ่ง Geo-Fencing ได้รับการอัพเดท รถก็จะยิ่งขับเก่งขึ้นเรื่อยๆ
 
ระบบ Geo-Fencing = Navigator ที่สามารถสั่งให้รถขับขี่เองได้
ที่มา: https://semiengineering.com
ตัวอย่างชัดเจนที่สุดในขณะนี้ คงหนีไม่พ้นแท็กซี่ไร้คนขับจาก Waymo ซึ่งกำลังให้บริการจริงอยู่ที่รัฐฟีนิกซ์ อริโซน่า ซานฟรานซิสโก ประเทศสหรัฐอเมริกาครับ สังเกตจากภายนอกจะเห็นได้ชัดเลยว่า รถยนต์ระดับ L4 มี “ดวงตา” รอบคันจริงๆ ไม่ว่าจะเป็นอุปกรณ์เซนเซอร์คลื่นวิทยุ (RADAR), ระบบตรวจจับแสงวัดระยะ (LiDAR), หรือกล้องหน้ารถ (Camera), เซนเซอร์อัลตร้าซาวนด์ (Ultrasonic Sensor)* เป็นต้น
 
ระบบขับขี่อัตโนมัติระดับ L4 จาก Waymo
อ่านสภาวะถนนรอบๆ ได้ใกล 3 สนามฟุตบอล
 
สรุปฟีเจอร์รถยนต์ระดับ L4 ระบบกำหนดขอบเขตเสมือน (Geofencing), ระบบจดจำและระบุวัตถุจากภาพ (Visual Recognition), ระบบคนขับรถส่วนตัว (Chauffeur mode) เป็นต้น
 
  • ADAS ระดับ L5 (Full Automation / Full Self Driving)

ระบบ: ขับเคลื่อนอัตโนมัติ ทุกที่ทุกเวลา
ผู้ขับขี่: ไม่มี... ในรถมีแต่ผู้โดยสาร
ในเมื่อรถยนต์ระดับ L4 สามารถขับขี่เองอัตโนมัติได้แล้ว แล้ว L5 มีจุดที่เหนือกว่ายังไง? คำตอบก็คือ รถระดับ L5 ไม่จำเป็นต้องพึ่งระบบ Geo-Fencing หรือขอบเขตเสมือนจริงอีกต่อไป
เพราะสำหรับ L5 การขับขี่จะถูกควบคุมด้วยระบบสมองกล A.I. เต็มร้อย และยังมีความสามารถ “Learn on the Job เรียนรู้ คิด แก้ไข ปรับปรุง ตัดสินใจหน้างานได้” ไมว่าจะเป็นการเปลี่ยนเลน เลือกเส้นทางขับขี่บนทางด่วน ทางหลวง หรือแม้กระทั่งถนนส่วนบุคคลก็ตาม
 
หากยังนึกไม่ออกก็เหมือนกับรถในหนัง Sci-Fi อย่างเรื่อง I-Robot นำแสดงโดยวิลล์สมิท
ที่มา:
https://roboticsandautomationnews.com
อย่างไรก็ตาม เทคโนโลยีช่วยขับขี่ระดับ L5 ยังถือว่าเป็นคอนเซปท์ที่ทางผู้ผลิตรถยนต์ไฟฟ้าชั้นนำกำลังมุ่งมั่นทำให้สำเร็จอย่างเต็มกำลัง และหนึ่งในความท้าท้ายสุดหินสำหรับระบบช่วยขับขี่ L5 ก็คือ A.I. ของรถต้องเรียนรู้วิธีคิดและการตัดสินใจแบบมนุษย์ให้ได้ ภายใต้ข้อกำหนดกฏหมาย หรือสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกันไปแต่ละพื้นที่ ยกตัวอย่างเช่นหากเป็นประเทศไทย
“เมื่อเราพบช้างข้ามถนน มนุษย์คงหยุดรถให้โดยไม่ลังเล แต่ถ้ารถยนต์ Tesla ในอนาคตเจอสถานการณ์นี้ โดยที่ A.I. ยังไม่เคยรู้จักช้างมาก่อน รถจะตัดสินใจอย่างไร? (นั่นสินะ)”
เพราะฉะนั้น เราอาจจำเป็นต้องอดใจรออีกสักนิด ให้เทคโนโลยีมีความพร้อมกว่านี้อีกสักหน่อย เชื่อว่ารถยนต์ไร้คนขับที่แท้จริง (Full Self Driving Car) คงมีให้เห็นในท้องตลาดในอีกไม่นานแน่นอนครับ
 

มาเชคกัน…รถของคุณมีระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะอะไรบ้าง

หลังจากลามิน่าได้ไปสำรวจรถยนต์ขายดีที่มหกรรมยานยนต์ครั้งล่าสุดปี 2022 พบว่าปัจจุบันระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะระดับ L0 - L2 มีอยู่ในรถแทบทุกรุ่นเลยล่ะครับ ถ้าอยากรู้ว่าแต่ละยี่ห้อมีไฮไลท์อะไรที่น่าสนใจบ้าง ลองคลิกชมได้ที่โพสต์ Facebook ด้านล่างนี้ได้เลย
 
 
 

ฟิล์มรถยนต์เกี่ยวข้องกับระบบ ADAS หรือไม่?

ฟิล์มรถยนต์เกี่ยวข้องกับระบบ ADAS หรือไม่?

ความสัมพันธ์ระหว่างฟีเจอร์ต่างๆ กับเซนเซอร์และกล้องรอบคัน
ที่มา: www.roboticsandautomationnews.com
 
สำหรับคำถามนี้ จริงอยู่ที่ว่าอุปกรณ์เซนเซอร์ที่ทำงานร่วมกับระบบขับขี่อัจฉริยะส่วนใหญ่ถูกติดตั้งอยู่นอกตัวรถ ไม่ว่าจะเป็นเซนเซอร์รับ-ส่งสัญญาณ LiDAR, RADAR หรือ Ultrasound 
ดังนั้นฟิล์มรถยนต์อาจไม่ได้เกี่ยวข้องกับฟังก์ชันการทำงานของเซนเซอร์เหล่านี้โดยตรง (ยกเว้น Subaru Eyesight กล้องคู่หน้ารถที่ติดตั้งมากับรถยนต์ Subaru Forester ฟิล์มกรองแสงมีผลกับการทำงานของ Vision Recognition โดยตรงครับ เนื่องจากตัวกล้องไม่ได้แนบกับผืนกระจกหน้า)
แต่ถ้าคุณได้เจอกับ ข่าว ที่ทำให้แบรนด์รถ TESLA สูญเสียความน่าเชื่อถือเพียงชั่วข้ามคืนคุณอาจต้องคิดใหม่ และนี่คือ 4 ปัญหาที่อาจเกิดขึ้น หากติดฟิล์มรถยนต์ที่ไม่รองรับเทคโนโลยียุคดิจิทัล 100%
 
Adas Function
4 ปัญหาที่คุณอาจเจอ เมื่อติดฟิล์มรถแบบทั่วไปกับรถ EV
 
ลามิน่าอยากย้ำให้ทุกท่านตระหนักว่า รถยนต์ยุคใหม่ได้ก้าวสู่การเป็น IoT Device ไม่ต่างอะไรกับสมาร์ทโฟนแล้ว และนี่คือเทรนด์ใหม่ของอุตสาหกรรมยานยนต์ที่จะคงอยู่ต่อไป
เพราะฉะนั้น การเชื่อมต่อระหว่างรถยนต์กับอินเตอร์เน็ตเซิร์ฟเวอร์ในอากาศ หรือ บนระบบดาวเทียมอยู่ตลอดเวลาจึงเป็นเรื่องสำคัญมาก และอาจส่งผลถึงขั้นทำให้รถไม่สามารถทำงานต่อไปได้ หรือทำงานได้ไม่เต็มประสิทธิภาพ หากการเชื่อมต่อติดขัด หลุด และไม่เสถียร
โดยเฉพาะรถยนต์ไฟฟ้าที่มีระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะระดับ L2 ขึ้นไป เช่นรถยนต์รุ่น MG ZS EV, Tesla หรือ Ora Good Cat รถยนต์เหล่านี้มักตามมาด้วยการอัพเดทซอฟท์แวร์, เฟิร์มแวร์อยู่เสมอ (Auto Update Software on the air, Firmware on the air) ซึ่งต้องเชื่อมต่อกับระบบคลาวด์ (Cloud Server) ตลอดเวลา
 
ตัวอย่างการอัพเดท FOTA จากแบรนด์รถ GWM
ที่มา: GWM Thailand
 
ในขณะเดียวกัน ตัวรถยนต์เองยังต้องประมวลผลข้อมูลจากเซนเซอร์ต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น เรดาร์ อัลตร้าโซนิค สัญญาณภาพหรือวิดีโอสดๆ ซึ่งหมายถึง…
 
“ปริมาณ DATA ที่รถยนต์ต้องประมวลผลมากกว่า 1 Gbps แบบ Real-Time”
 
ไม่ต่างอะไรกับการประมวลผลจาก Data Center เห็นไหมครับว่า เทคโนโลยีรถยนต์มาไกลขนาดไหน…
 
อินโฟกราฟฟิกสรุปรูปแบบการทำงาน
ที่มา: https://intellias.com/
 
 

เทคโนโลยี DigitalBoost® คืออะไร

เทคโนโลยี DigitalBoost® คืออะไร

เมื่อรถยนต์จำเป็นต้องเชื่อมต่อกับสัญญาณดิจิทัลในทุกมิติ ไม่ว่าจะเป็นการขับขี่ด้วยระบบ A.I หรือการเสพคอนเทนท์ภายในรถยนต์ที่เปลี่ยนจากสัญญาณวิทยุแบบเดิม เป็นการรับชม Media และ Infotainment ผ่านสัญญาณ 5G หรือ WiFi
ดังนั้น นับตั้งแต่ปี 2022 เป็นต้นมาลามิน่าจึงจับมือร่วมกับ Eastman Performance Films, LLC USA ในการคิดค้นและรังสรรค์เนื้อฟิล์มชนิดพิเศษ ใหม่ล่าสุด! จากนวัตกรรม AiCeramic 100% ที่มีคุณสมบัติกันร้อน กันยูวีสูง และไม่กั้นสัญญาณ 5G หรือ WiFi บูสต์ประสิทธิภาพฟังก์ชันดิจิทัลในรถให้เต็ม 100 พร้อมช่วยให้รถยนต์ไฟฟ้าใช้พลังงานแบตเตอรี่ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
 
It’s time to change
 
  • เร็ว        ทุกฟังก์ชั่นดิจิทัลในรถ ตอบสนองแค่ปลายนิ้ว
  • แรง       รับส่งดาต้าในรถ โหลดแรงเต็มประสิทธิภาพ
  • ลื่น        ออนไลน์หลายอุปกรณ์ ลื่นไหลไม่มีสะดุด
  • เสถียร   ลดปัญหาสัญญาณดิจิทัลอ่อน / หลุด / หาย
ซึ่งปัจจุบัน ฟิล์มลามิน่าได้ผลิตและบรรจุเทคโนโลยี DigitalBoost® เข้าไว้ในซีรีย์ฟิล์มรวม 6 รุ่น เพื่อ 6 ไลฟ์สไตล์ แตกต่างกันตามจุดประสงค์การใช้งานด้วยกัน หากสนใจรายละเอียดเพิ่มเติม คลิ๊กได้ที่รูปด้านล่างได้เลยครับ
 
Lamina EV Boost
ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เอไอเซรามิคเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ
Lamina EVS Boost
ฟิล์มดิจิทัลบูสต์ 
ประหยัดพลังงาน เพื่อรถ EV ยุคใหม่
Lamina Ceramatrix
ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เซรามิคแท้ตัวจริงคุณภาพอันดับ 1
Lamina Mystery
ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เพื่อสุขภาพผิวถนอมดวงตา
Lamina CM Icon
ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เพื่อยานยนต์อัจฉริยะยุค 5G
CM ONE
ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เพื่อยานยนต์ป้ายแดงยุค 5G
Lamina EV Boost ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เอไอเซรามิคเพื่อรถยนต์ไฟฟ้าอัจฉริยะ
Lamina EVS Boost ฟิล์มดิจิทัลบูสต์ 
ประหยัดพลังงาน เพื่อรถ EV ยุคใหม่
Lamina Ceramatrix ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เซรามิคแท้ตัวจริงคุณภาพอันดับ 1
Lamina Mystery ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เพื่อสุขภาพผิวถนอมดวงตา
Lamina CM Icon ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เพื่อยานยนต์อัจฉริยะยุค 5G
CM ONE ฟิล์มดิจิทัลบูสต์
เพื่อยานยนต์ป้ายแดงยุค 5G
 
สุดท้ายเราขอฝากรีวิวจากลูกค้าจริง ที่ได้ทดสอบสินค้าและแชร์ประสบการณ์การใช้งานแบบสดๆ ของฟิล์มรุ่น Lamina Digital EV Boost ติดบนรถยนต์รุ่น Tesla Model Y Long Range ของคุณ “คุณหนุ่ย-ณัฐพล ม่วงทำ ผู้ก่อตั้งเพจการตลาดวันละตอน และเว็บไซต์ everydaymarketing.co” ติดฟิล์มแล้วส่งผลกับระบบขับขี่ยานยนต์ไฟฟ้าหรือไม่ เร็ว แรง ลื่น เสถียรแค่ไหน ชมได้ที่คลิปด้านล่างครับ
 
วินาที 3.03 คุณหนุ่ยทดสอบฟังก์ชัน Tesla Autopilot
หลังติดตั้ง Lamina EV Boost ให้ชมครับ
 

สรุป

ADAS System คือ เทคโนโลยีที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้แก่ผู้ขับขี่รถยนต์ ด้วยการทำงานหลากหลายรูปแบบ เช่น การส่งสัญญาณเสียงเตือน การช่วยควบคุมคันเร่ง, เบรก หรือพวงมาลัยในภาวะที่เสี่ยงต่อการเกิดอันตราย และในอนาคตอันใกล้ จะสามารถทำให้รถยนต์สามารถขับเคลื่อนได้เองอัตโนมัติ (Automomous Car) ปัจจุบันระบบนี้ถูกแบ่งตามระดับความสามารถได้ 6 ระดับ ตั้งแต่ L0-L5 อย่างไรก็ตามเพื่อให้ระบบช่วยขับขี่อัจฉริยะทำงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ จึงควรคำนึงถึงฟิล์มกรองแสงที่ผลิตขึ้นเพื่อรองรับเทคโนโลยีอันล้ำสมัยนี้ด้วยครับ

โทร. 02-422-2345
Facebook: m.me/LaminafilmsHQ
@LINE: https://lin.ee/ot1aDYm 

*อุปกรณ์เซนเซอร์ และเทคโนโลยีที่ติดตั้ง อาจแตกต่างกันไประหว่างค่ายรถยนต์