ติดฟิล์มลามิน่า บูสต์ชีวิตให้เป็น 1 กับโลกดิจิทัล - Boost Up your Life

ก่อนเลือกซื้อ “ฟิล์มกรองแสง” ต้องอ่านบทความนี้ก่อน

SHARE
ฟิล์มกรองแสง
 
ฟิล์มที่เราเห็นอยู่กันทุกวันนี้ มีหลากหลายชนิดมากมายไปหมด ราคาเองก็ต่างกัน วันนี้ Lamina Films จะพามาทำความรู้จักกับข้อมูลของ “ฟิล์มกรองแสง” ให้มากขึ้นกัน ไม่ว่าจะเป็น ฟิล์มกรองแสงคืออะไร? ทำมาจากอะไร? ประโยชน์และประเภทต่าง ๆ ของฟิล์มกรองแสง รวมทั้งข้อมูลที่น่ารู้ก่อนการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสงด้วย เริ่มมาทำความรู้จักกันได้เลย!
 
อยากเลือกอ่าน? กดตามหัวข้อที่สนใจได้เลย
 
 

ฟิล์มกรองแสง คืออะไร?

ฟิล์มกรองแสง คืออะไร?

ฟิล์มกรองแสง (ชื่อภาษาอังกฤษ = Window Film,  Window Tint) คือ แผ่นใสที่ผลิตมาจากพลาสติกโพลีเอสเตอร์ (Polyester) ซึ่งมีคุณสมบัติใส, เหนียว, ทนทาน, ยืดหยุ่น แต่คงรูปได้อย่างดี และทนต่อความร้อนได้สูงมาก แผ่นฟิล์มจะยึดติดกับกระจกด้วยกาวที่มีความใส ทำให้ยังสามารถมองเห็นผ่านกระจกได้โดยไม่บิดเบือนมุมมองใด ๆ โดยนิยมใช้ทั้งเป็น ฟิล์มรถยนต์, ฟิล์มอาคารสำนักงาน, ฟิล์มติดกระจกบ้าน เป็นต้น
 
แผ่นฟิล์มกรองแสง
ภาพแสดงตัวอย่างการดึงยืดเนื้อฟิล์ม ที่มีลักษณะใส, เหนียว และยืดหยุ่น
 
 

ประโยชน์ของฟิล์มกรองแสง

ประโยชน์ของฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสงมีประโยชน์มากมาย ไม่ว่าจะเป็นประโยชน์โดยตรงที่เป็นคุณสมบัติของฟิล์มกรองแสง อย่างเช่น
  1. ช่วยกรองแสงจ้า ลดปริมาณแสงที่ส่องเข้ามา
  2. ป้องกันความร้อน, ลดความร้อน
  3. ป้องกันรังสี UV และยังได้ประโยชน์เพิ่มเติม จากคุณสมบัติของฟิล์ม ไม่ว่าจะเป็น
  4. ถนอมสายตา จากการที่ฟิล์มกรองแสงช่วยลดแสงและรังสีต่าง ๆ ที่จะส่องผ่านเข้ามา
  5. ถนอมและปกป้องผิวพรรณ จากการที่ฟิล์มช่วยลดรังสี UVA และ UVB ที่เป็นอันตรายต่อผิว ทั้งบวมแดง แสบร้อน ฝ้ากระ จนถึงก่อให้เกิดมะเร็งผิวหนังได้
  6. ช่วยให้ทัศนวิสัยในการขับขี่ดีขึ้น ทำให้ช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุได้
  7. ช่วยลดอันตรายในขณะที่กระจกแตกจากอุบัติเหตุ เนื่องจากคุณสมบัติความเหนียวของชั้นโพลีเอสเตอร์บนเนื้อฟิล์มที่ช่วยยึดเกาะกระจก ทำให้เศษกระจกไม่กระเด็นใส่ผู้โดยสารหรือผู้ที่อยู่ใกล้เคียงโดยตรง ทำให้ปลอดภัยแก่ชีวิตมากขึ้น
  8. เพิ่มความเป็นส่วนตัว อย่างการใช้ฟิล์มที่มีความเข้ม ก็จะช่วยให้ผู้คนภายนอกไม่สามารถมองเห็นผู้คนด้านในได้อย่างชัดเจน
  9. ถนอมคุณภาพของวัสดุอุปกรณ์ เครื่องใช้ และสิ่งของที่อยู่ในบ้านหรือในรถ อย่างเช่น คอนโซลรถ เบาะรถ กล้องหน้ารถ หรือของในบ้าน อาทิ โมเดล, ของสะสม, กระเป๋า, เฟอร์นิเจอร์ หรือสิ่งของมีค่าต่าง ๆ ที่อาจเกิดการซีด, กรอบ, แตกเสียหาย หรืออาจแปรสภาพเปลี่ยนไปได้เนื่องจากโดนความร้อน
  10. ช่วยปกป้องทรัพย์สินจากการโจรกรรม (ในกรณีที่ฟิล์มมีความเข้มสูง หรือเป็นฟิล์มประเภทนิรภัย) ช่วยให้ลดการมองเห็นทรัพย์สินมีค่าที่อยู่ภายในรถ รวมถึงป้องกันการทุบทำลายได้เป็นอย่างดี
  11. ประหยัดค่าไฟ (สำหรับ ฟิล์มติดกระจกบ้าน) เนื่องจากมีฟิล์มกรองแสงช่วยลดความร้อน, ลดอุณหภูมิ ทำให้เครื่องปรับอากาศไม่ต้องทำงานหนัก จึงช่วยลดการใช้ไฟไปได้ด้วย
 
เกร็ดน่ารู้ :
“ความร้อนจากแสงอาทิตย์” เกิดมาจาก 3 แหล่งด้วยกัน ได้แก่
  1. รังสี Ultra Violet (UV)
    ถึงแม้ว่า รังสีอัตราไวโอเลตจะมีอยู่แค่เพียง 3% แต่เป็นรังสีน่ากลัวมาก! เพราะรังสีชนิดนี้  มองไม่เห็นด้วยตาเปล่า, ไม่ร้อน แต่สามารถทำให้ผิวไหม้ได้โดยไม่ทันรู้ตัว
  2. แสงสว่าง (Visible Light : VL)
    หรือแสงที่เราเห็นกันด้วยตา แสงสว่างนั้นมีอยู่ประมาณ 44% ซึ่งเป็นแสงสว่างที่มองเห็นด้วยตา ร่างกายสามารถสัมผัสความร้อนได้
  3. อินฟราเรด (Infrared : IR)
    ประกอบอยู่ในความร้อนจากแสงอาทิตย์มากถึง 53% โดยประมาณ ซึ่งคลื่นอินฟราเรดนั้น เป็นคลื่นที่ไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่าได้ แต่ร่างกายสามารถสัมผัสความร้อนได้

ดังนั้น ฟิล์มที่ดีมีประสิทธิภาพสูง ควรมีคุณสมบัติที่ป้องกันได้ในทุกปัจจัย ทั้งกันรังสี UV, ลดแสงสว่างที่ส่องผ่าน และกันอินฟราเรดซึ่งทั้ง 3 ค่านี้รวมเรียกว่า ค่าการป้องกันความร้อนจากแสงแดดรวม TSER
ความร้อนจากแสงแดด
 
 

การผลิตฟิล์มกรองแสงมีกี่ประเภท?

การผลิตฟิล์มกรองแสงมีกี่ประเภท?

อย่างที่ได้เกริ่นไปแล้วว่า “ฟิล์มกรองแสงมีหลากหลายแบบ หลากหลายราคา ตั้งแต่หลักพันจนไปถึงหลายหมื่น” ซึ่งราคาที่ต่างกัน เพราะมาจากคุณภาพ, เทคโนโลยีและมาตรฐานการผลิตที่แตกต่างกันด้วย แต่ว่า! เราจะรู้ได้อย่างไรว่าฟิล์มที่เราเลือกซื้อ เป็นฟิล์มดีหรือไม่? … ก่อนอื่น ต้องทำความรู้กับกับ “ประเภทของฟิล์มกรองแสงกันก่อน” โดยในที่นี้ เราจะแยกประเภทตามเทคโนโลยีและหลักการผลิตของฟิล์ม … เริ่มกันเลย!
 
เปรียบเทียบ ฟิล์มกรองแสง
 

1.    ฟิล์มย้อมสีโดยการฉาบสี (Color Coating Film)

เป็นฟิล์มที่ใช้กาวผสมเข้ากับสีและฉาบที่หน้าฟิล์มเท่านั้น แต่ไม่ได้มีการฉาบวัสดุที่ช่วยกันร้อนเข้าไป ทำให้ฟิล์มประเภทนี้ ไม่กันความร้อน มืดทั้งการมองจากข้างนอกและมืดทั้งมองจากข้างใน รวมทั้งความทนทานยังต่ำอีกด้วย (อายุการใช้งานแค่ประมาณ 1 ปี)

2.    ฟิล์มย้อมสีโดยการฝังสีด้วยไอร้อน (Deep Dyeing Film)

ฟิล์มชนิดนี้ คล้ายกับฟิล์มแบบ Color Coating แต่ฟิล์มชนิดนี้จะใช้วิธีการฝังสีแบบใช้ไอร้อน (Deep Dyeing) เพื่อฝังสีเข้าไปในชั้นฟิล์มหรือแผ่นโพลีเอสเทอร์ ทำให้มีความทนทานมากขึ้นกว่าฟิล์มที่ฉาบสี แต่ … ฟิล์มประเภทนี้ก็ยังไม่ได้มีการฉาบหรือฝังวัสดุกันร้อนเข้าไป จึงทำให้สามารถทำได้แค่การลดความสว่างเท่านั้น โดยจะมืดทั้งเมื่อมองจากภายนอกเข้ามา และมืดจากการมองภายในออกไป ซึ่งอาจไม่ดีต่อทัศนวิสัยในการมองสักเท่าไหร่

3.    ฟิล์มเคลือบสารด้วยไอร้อน (Thermal Evaporation Film)

เป็นฟิล์มที่มีการผนึกสารกันร้อนเข้าไปในเนื้อฟิล์ม โดยอาจเป็นการใช้โลหะ หรือวัสดุอโลหะก็ได้ มาทำให้การระเหิดภายใต้ห้องที่มีอุณหภูมิร้อน เมื่อโลหะเปลี่ยนสถานะจากของแข็งกลายเป็นไออนุภาคที่ละเอียดขึ้น ไอโลหะนี้จะลอยไปติดที่เนื้อฟิล์ม นิยมใช้วิธีนี้กันมากสำหรับการเคลือบฟิล์มด้วยโลหะ

4.    ฟิล์มเคลือบอนุภาคนาโน (Magnetron Sputtering Coating)

 
ฟิล์มสปัตเตอร์

ภาพแสดงกระบวนการ Sputtering
ที่มา : adnano-tek.com
 
เป็นการใช้วิธี Sputtering หรือก็คือการยิงประจุอิเล็กตรอนภายใต้สนามแม่เหล็กไฟฟ้าเข้าไปกระแทกอนุภาคสารกันความร้อนในระดับอะตอม จนทำให้สารนั้นแตกตัวเป็นอนุภาคเล็ก ๆ ในระดับนาโน ลอยไปตามแรงผลักของกระแสไฟฟ้าแรงดันสูง จนไปเคลือบฝังติดอยู่บนแผ่นฟิล์มได้อย่างเรียบ สม่ำเสมอ และมีความบริสุทธิ์สูงสุด ซึ่งถือว่าเป็นเทคโนโลยีการผลิตฟิล์มกรองแสงที่ทันสมัยที่สุดในปัจจุบัน โดยฟิล์มกรองแสงลามิน่าทุกรุ่นใช้เทคโนโลยี Magnetron Sputtering Coating* ในการผลิตทั้งหมดครับ
  
วิดีโอแสดงกระบวนการผลิตฟิล์มกรองแสง 
จากโรงงาน Eastman Performance Films, LLC USA
 
การเคลือบสี ≠ การฝังสี
การเคลือบสี (Color Coating) เป็นการผสมสีเข้ากับเนื้อกาวแล้วฉาบลงบนแผ่นฟิล์มเพียงเท่านั้น ส่วนการฝังสี (Deep Dyeing) เป็นการฝังอณูเม็ดสีเข้าไปในเนื้อฟิล์มด้วยไอร้อน ทำให้ได้สีที่เรียบเนียนและติดทนนานกว่า อีกทั้งยังช่วยเสริมคุณสมบัติการกันร้อนกันยูวีได้อีกด้วย หากอยากรู้ว่าทุกวันนี้สีฟิล์มสีไหนที่กำลังอินเทรนด์ อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ สีฟิล์มรถยนต์ ครับ
 
 

โครงสร้างของฟิล์มกรองแสง

โครงสร้างของฟิล์มกรองแสง

ฟิล์มกรองแสง ไม่ได้เป็นเพียงการนำเนื้อฟิล์มมาวางติดกับกระจกเท่านั้น แต่จริง ๆ แล้ว ฟิล์มกรองแสงจะประกอบไปด้วยโครงสร้างหลายชั้น อย่างเช่น จากภาพตัวอย่างข้างล่าง ซึ่งเป็นฟิล์มกรองแสงชนิดที่มีการฝังเคลือบวัสดุกันความร้อน โดยจะประกอบด้วย
  • Scratch Resistant Layer : ชั้นที่ป้องกันรอย อย่างเช่น รอยขีดข่วนต่าง ๆ ที่อาจเกิดขึ้นบนกระจก, หรือเนื้อฟิล์ม
  • Metalized / Ceramic Layer : ชั้นที่ฝังเคลือบวัสดุกันความร้อน อาจเป็นชั้นฝังโลหะหรืออโลหะก็ได้
  • Adhesive : ชั้นกาวประสาน
  • Dyed Layer : ชั้นสี ช่วยเพิ่มความสวยงามของเนื้อฟิล์ม
  • Mounting Adhesive : ชั้นกาวสำหรับเป็นกาวในฝั่งที่ติดสัมผัสกับกระจก
  • Removable Release Liner : ชั้นที่เป็นแผ่นพลาสติกใสที่เอาไว้ใช้กันการสัมผัสของกาวกับอากาศ จะเอาไว้ดึงออกตอนที่จะติดตั้งแผ่นฟิล์มกับกระจก
 
โครงสร้างของฟิล์มกรองแสง
*ตัวอย่างของฟิล์มชนิดที่มีการเคลือบวัสดุกันความร้อน (ทั้งโลหะและอโลหะ)
   
รู้หรือไม่ !?
ฟิล์มปรอท” ที่เราคุ้นเคยชื่อกันนั้น จริง ๆ แล้วไม่ใช่ฟิล์มที่ทำมาจากปรอท หรือเคลือบด้วยสารปรอทแต่อย่างใด แต่ที่เรียกว่าฟิล์มปรอทนั้น เนื่องจาก “ค่าการสะท้อนแสง” ที่มีค่ามาก ทำให้ฟิล์มมีการสะท้อนแสงคล้ายกับสารปรอท มีความเงาสูงจึงเป็นที่มาที่เรียกว่า ฟิล์มปรอท นั่นเอง
 
 

ค่าฟิล์มกรองแสงที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อ

ค่าฟิล์มกรองแสงที่ควรรู้ก่อนเลือกซื้อ

ท่านที่กำลังสนใจเลือกฟิล์มกรองแสงอยู่ อาจจะเคยได้ยินตัวย่อภาษาอังกฤษเต็มไปหมด ไม่ว่าจะ UV, IR, VLT และอื่น ๆ อีกเพียบ อาจจะกำลังสงสัยอยู่ว่า … แต่ละตัวคืออะไร? สำคัญและจำเป็นต้องรู้มั้ย? Lamina Films จะพามาแนะนำค่าแต่ละตัวที่สำคัญและควรรู้ เพื่อประกอบการเลือกซื้อฟิล์มกรองแสงให้ตรงใจครับ
 
Visible Light Transmission คือ
 

VLT = Visible Light Transmission คือ ค่าแสงส่องผ่าน

คือ ค่าที่บอกถึง % ที่ความสว่างจะสามารถผ่านฟิล์มกรองแสงเข้ามาได้ ซึ่งถ้าค่ายิ่งน้อย หมายถึงแสงยิ่งผ่านเข้ามาได้น้อย คือฟิล์มที่สียิ่งเข้ม นั่นเอง
 
Visible Light Rejection
 

VLR = Visible Light Rejection คือ ค่าการสะท้อนแสง

คือ ค่าที่บอกถึง % ของปริมาณแสงที่จะถูกสะท้อนออกไปจากเนื้อฟิล์ม ซึ่งมีความสัมพันธ์กับ “ความเงา” ของฟิล์มกรองแสงครับ โดยที่ค่าตัวเลขยิ่งน้อยหมายถึงการสะท้อนแสงที่น้อย (อย่างเช่น ฟิล์มเซรามิคที่ให้สีดูดำด้าน) ส่วนค่ายิ่งมาก หมายถึงฟิล์มมีความเงามาก สะท้อนแสงมาก อย่างเช่น ฟิล์มปรอท เป็นต้น
 
ค่า UVR คือ
 

UVR = UV Rays Rejection คือ ค่าการลดรังสี UV

ค่า UVR นี้ จะหมายถึง ค่าการลดรังสี UV ยิ่งตัวเลขค่านี้มาก ยิ่งหมายถึงลดรังสี UV ที่จะส่องผ่านฟิล์มกรองแสงได้มาก ซึ่งก็คือ จะยิ่งช่วยถนอมผิวพรรณได้ดียิ่งขึ้นด้วย
 
ค่า TSER คือ
 

TSER = Total Solar Energy Rejection คือ ค่าการลดความร้อนจากแสงแดด

ค่านี้แสดงถึง ค่าในการป้องกันความร้อนโดยรวมจากแสงแดด (ได้แก่ รังสี UV, แสงสว่าง (Visible Light) และ อินฟราเรด (IR) ฉะนั้น ถ้าค่านี้ยิ่งสูง ยิ่งหมายความว่า ฟิล์มกรองแสงนั้น ๆ สามารถกันความร้อนได้ดี โดยสถาบันระดับโลกจะใช้ค่านี้ในการวัดประสิทธิภาพการกันความร้อนครับ
 
 ir คือ
ค่า IRR คืออะไร อ่านแบบไหนไม่ให้เสียรู้
สำหรับค่า IRR (Infrared Rays Rejection = ค่ากันร้อนจากรังสีอินฟราเรด) ถึงแม้จะเป็นค่าที่หลากหลายบริษัทฟิล์มเลือกนำมาโฆษณา เพราะสามารถทำการทดสอบให้ได้ผลลัพธ์สเปคตัวเลขสูงๆ ได้ไม่ยากด้วยหลอดไฟอินฟราเรด (เช่น ฟิล์มกันรังสี IRR 97%
อย่างไรก็ตาม ลามิน่าไม่แนะนำให้ท่านตัดสินใจเลือกซื้อฟิล์มจากการดูค่าการลดรังสีอินฟราเรด (IRR) เพียงอย่างเดียว เนื่องจากในชีวิตประจำวันเราต้องเจอความร้อนจากแสงแดด และรังสี IR เป็นเพียงส่วนหนึ่งของความร้อนจากดวงอาทิตย์ประมาณ 53% เท่านั้น
ดังนั้น ค่า IRR จึงบอกประสิทธิภาพการกันร้อนจากแสงแดดจริงแค่เพียงคร่าวๆ เพื่อความแม่นยำ ลามิน่าขอแนะนำให้คุณดูค่า TSER ประกอบทุกครั้งก่อนตัดสินใจเลือกซื้อฟิล์มครับ
 
 

สรุป

จะเห็นได้ว่า ฟิล์มกรองแสงมีมากมายหลากหลายประเภท ทั้งสีสัน, วัสดุหรือสารที่ใช้การกันความร้อน รวมทั้งกรรมวิธีการผลิตที่แตกต่างกัน แต่เราจะรู้ได้อย่างไร…ว่าฟิล์มกรองแสงแบบไหนเหมาะสำหรับเรา ลามิน่าแนะนำให้ทุกท่านดู Checklist เหล่านี้ก่อนครับ
  • เราเลือกซื้อฟิล์มสำหรับใช้ทำอะไร? เช่น ฟิล์มติดกระจกบ้าน, ติดฟิล์มนิรภัยเพื่อป้องกันการโจรกรรม หรือติดฟิล์มรถยนต์ เนื่องจากฟิล์มแต่ละชนิดมีคุณสมบัติเฉพาะแตกต่างกัน
  • เรามีความต้องการแบบไหน เช่น ต้องการฟิล์มกันร้อนสูง, ต้องการทัศนวิสัยเคลียร์ชัดทั้งกลางวัน กลางคืน, ต้องการความเป็นส่วนตัว หรือต้องการฟิล์มที่เงางามเสริมบุคลิกให้รถหรือตัวอาคารน่าสนใจมากขึ้น เป็นต้น
  • งบประมาณที่มี เพื่อที่จะได้เลือกฟิล์มที่ตอบโจทย์คุ้มค่าตามงบที่ตั้งใจไว้
 
ถ้ายังไม่แน่ใจว่าจะเลือกฟิล์มแบบไหน
หรือมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับฟิล์มกรองแสง

 
คลิ๊กที่ปุ่มด้านล่างได้เลย เจ้าหน้าที่ของเราพร้อมให้คำปรึกษา หรือจะชมภาพรีวิวผลงานติดฟิล์มของลามิน่าเพิ่มเติมก็ได้เช่นกัน แต่เราขอการันตีเลยครับว่า ไม่ว่าคุณจะมีไลฟ์สไตล์แบบไหน Lamina Films** มีให้คุณครบ จบทุกความต้องการอย่างแน่นอน

ตัวอย่างงานติดตั้งฟิล์มทั้งบ้าน, อาคาร จาก Lamina

อีกหนึ่งความภูมิใจของ Lamina Films 
ที่ได้ติดฟิล์มกันความร้อนให้กับอาคารสนามบินสุวรรณภูมิ
 

ตัวอย่างงานติดตั้งฟิล์มรถยนต์ จาก Lamina

ตัวอย่าง Toyota Vellfire ติดฟิล์มกรองแสง Lamina Digital Executive Boost Series 
ARL20C ชาโคลเข้ม ทั้งบานหน้าและประตูคู่หน้า
 
ตัวอย่าง Ford Mustang Shelby GT500 ติดฟิล์มใสกันร้อนสูง 
L80BL Special ทั้งบานหน้าและรอบคัน
 
คำเตือน ! ระวัง ฟิล์มเซรามิคย้อมแมว !
ของแท้-ของเทียม ถือเป็นของคู่กัน ไม่เว้นแต่ฟิล์มเซรามิคครับ เพราะฉะนั้น ลามิน่าอยากให้คุณระวังฟิล์มเซรามิคย้อมแมวที่ขายแพงเกินจริง แต่ในเนื้อฟิล์มกลับไม่มีเซรามิคผนึกอยู่เลย (ซึ่งอาจเป็นฟิล์มย้อมสี หรือเป็นฟิล์มโลหะเฉยๆ ก็ได้) ถ้าอยากรู้ว่า 4 วิธีการเช็คฟิล์มเซรามิคแท้ - เทียม เป็นอย่างไร สามารถอ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ ฟิล์มเซรามิคแท้ ครับ หรือง่ายๆ เพียงคุณเลือก “ฟิล์มลามิน่า” คุณก็สามารถอุ่นใจได้เลยว่าจะได้ติดฟิล์มเซรามิค 100% การันตีด้วยชื่อเสียงแบรนด์ที่อยู่คู่เมืองไทยนานกว่า 2 ทศวรรษ มีศูนย์ตัวแทนติดตั้งมาตรฐานอย่างเป็นทางการ พร้อมบริการหลังการขายที่จริงใจ เชื่อถือได้เลยครับ

*สำหรับสารกันความร้อนที่เคลือบอยู่บนเนื้อฟิล์ม ปัจจุบันมีทั้งสารที่เป็นโลหะ (เช่น อลูมิเนียม, ไทเทเนียม, เงิน, อัลลอย ) และสารที่เป็นอโลหะที่มีคุณสมบัติกันความร้อนได้ดี เช่น เซรามิค, ชาร์โคล, คาร์บอน ซึ่งมีคุณสมบัติเฉพาะตัวแตกต่างกันไป ไม่ว่าจะเป็นสีฟิล์ม การกันรังสีความร้อน หรือการผ่านสัญญาณ เป็นต้น หากต้องการข้อมูลเพิ่มเติมสามารถอ่านได้ที่ ฟิล์มรถยนต์มีกี่แบบ

**ฟิล์มลามิน่าทุกรุ่นได้รับมาตรฐาน ISO9001 , ASTM, IWFA, AIMCAL และ ASHRAE รับประกันคุณภาพหลังการขายตลอด 7 ปีเต็ม