ติดฟิล์มลามิน่า บูสต์ชีวิตให้เป็น 1 กับโลกดิจิทัล - Boost Up your Life

TSER คือสเปคค่าฟิล์มกันร้อนตัวจริง คิดให้ดีก่อนหลงเชื่อค่า IR l LaminaFilms

SHARE
Window-tint-reflect-TSER
 
เมื่อพูดถึงฟิล์มกรองแสงคุณภาพสูง หลายท่านคงเคยได้ยินคำว่า TSER (Total Solar Energy Rejection) ซึ่งเป็นค่ามาตรฐานสากลที่ใช้วัดประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนรวมของฟิล์มกรองแสง ที่ได้รับการยอมรับและรับรองในระดับโลกเลย แต่ความจริงกลับพบว่าบนโลกสังคมออนไลน์ ยังมีคอนเทนท์สร้างความเข้าใจผิดที่บิดเบือนไปจากความเป็นจริงในเรื่องการอ่านค่าประสิทธิภาพการกันความร้อนบนสเปคฟิล์ม โดยเฉพาะประเด็น ‘TSER VS IR’ เพื่อให้ลูกค้าทุกท่านเข้าใจความหมายที่แท้จริง อ่านบทความนี้สิครับ รับรองได้คำตอบ
สนใจหัวข้อไหน เลือกคลิกอ่านได้เลยครับ

TSER คืออะไร ทำไมถึงสำคัญในการเลือกฟิล์มรถยนต์

TSER (Total Solar Energy Rejection) คือค่าที่บอกความสามารถของฟิล์มในการป้องกันพลังงานความร้อนรวมทั้งหมดจากแสงอาทิตย์ ไม่ใช่ค่าที่วัดพลังงานความร้อนจากแค่รังสีใดรังสีหนึ่ง ซึ่งฟิล์มมาตรฐานระดับโลกอย่างลามิน่าฟิล์มยึดค่า TSER เป็นหลักในการดูประสิทธิภาพการลดความร้อนของฟิล์ม โดยต้องเป็นค่า TSER ที่ได้รับการรับรองมาตรฐาน ASTM / ASHRAE / AIMCAL / IWFA / EWFA / NAESCO / SKIN CANCER FOUNDATION / ISO9001 ซึ่งปกติค่า TSER ที่วัดได้จะอยู่ในช่วง 40% - 80% เท่านั้นครับ ค่ายิ่งสูงยิ่งดี แต่ก็มีฟิล์มบางรายเคลมสเปค TSER ขึ้นเองให้โอเวอร์สูงๆ โดยไม่มีแหล่งข้อมูลใดๆรับรอง อันนี้ต้องระวังให้มาก อีกทั้งการพิจารณาเลือกฟิล์มสำหรับการใช้งาน จำเป็นต้องดูสเปคฟิล์มหลายๆ ค่าประกอบกัน โดยคุณสามารถอ่านเพิ่มเติมเกี่ยวกับการอ่านค่าสเปคฟิล์มได้ที่เว็บไซต์ของลามิน่าครับ

สเปคฟิล์มไหน ที่เป็นมาตรฐานสากลบอกค่าลดความร้อนรวม

ค่าที่วัดประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด หากพูดอย่างไม่มีอคติแอบแฝง และองค์กรสถาบันทั่วโลกให้การยอมรับ ต้องยกให้ค่า TSER เท่านั้นครับ ที่เป็นตัวชี้วัดที่ครอบคลุม (เป็นค่าที่กำหนดโดย AIMCAL (Association of Industrial Metalizers Coaters & Laminators) และ NRFC (The National Fenestration Rating Council)  รวมถึงกระทรวงพลังงานจากประเทศต่างๆ ก็ให้การยอมรับ) ไม่เหมือนกับค่า IR ที่วัดเฉพาะการสะท้อนรังสี IR ซึ่งเป็นเพียงส่วนหนึ่งของความร้อนในแสงแดดเท่านั้น
 

ทำไมค่า TSER ตัวเลขดูน้อยกว่าค่ากันรังสี IR อยู่เสมอ?

เวลาดูสเปคฟิล์ม ค่า TSER มักจะต่ำกว่าค่า IR (Infrared Rejection) เสมอ ทำไมเป็นเช่นนั้นล่ะ? มีเหตุผลสำคัญแบบนี้ครับ
ประการแรก วิธีการวัด - ค่า TSER ที่แม่นยำถูกต้อง 100% นั้น ต้องวัดทั้งความร้อนที่ถูกกรอง ดูดซับ และสะท้อนออกไป แต่เครื่องมือวัดทั่วไปในปัจจุบัน มักวัดได้แค่ส่วนพลังงานรังสีที่ส่องผ่านทะลุเนื้อฟิล์ม (transmission) เท่านั้น
ประการที่สอง สืบเนื่องจากข้อที่แล้ว เมื่อเรานำฟิล์มเงารุ่นท็อปอย่าง Lamina L60Max Special ที่มีคุณสมบัติกันความร้อนด้วยการสะท้อนเป็นหลัก เมื่อวัดเฉพาะค่าแสงส่องผ่าน จะไม่สามารถบ่งบอกประสิทธิภาพการกันความร้อนที่แท้จริงของฟิล์มรุ่นนี้ได้ทั้งหมด เพราะมีการสะท้อนความร้อนออกไปมากพอสมควร
ประการที่สาม ผลจากเครื่องวิเคราะห์สเปกตรัม มักจะให้ค่า TSER ที่ต่ำกว่าค่าที่คำนวณจากสูตร เพราะไม่ได้วัดความสามารถในการสะท้อนกลับออกไปของความร้อนอย่างครบถ้วน
ดังนั้น จึงเป็นเรื่องปกติที่พบได้บ่อยครับ เมื่อเราไปเลือกดูรุ่นฟิล์มแล้วพบว่าสามารถกันรังสี IR ได้สูงเวอร์ถึง 85-97% แต่พอวัดด้วยค่า TSER กลับได้เพียง 55-68% ซึ่งสมเหตุสมผล เพราะรังสี IR เป็นเพียงส่วนหนึ่ง (53%) ของพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด แต่ในขณะที่ค่า TSER ของฟิล์ม ยังต้องรับมือกับความร้อนจากแสงสว่างอีก 44% และรังสี UV อีก 3% ด้วย
รู้หรือไม่ !? คำนวณอย่างไร หากไม่มีค่า VLT
หากไม่มีค่า VLT (ค่าแสงส่องผ่าน) เบื้องต้นสามารถใช้ค่า VLR (ค่าสะท้อนแสง) แล้วแทนสูตรเป็น TSER = 44%(VLR) + 53%(IRR) + 3%(UVR) อย่างไรก็ตาม เนื่องจากปัจจุบันฟิล์มรุ่นใหม่ มีค่าสะท้อนแสง (VLR) ต่ำมากๆ โดยเฉพาะฟิล์มชนิดเซรามิค ค่าสูตรนี้ก็อาจใช้คำนวณประสิทธิ์ภาพฟิล์มได้ไม่ตรงเท่ากับสูตรแรก ที่ลามิน่าแนะนำไปครับ

สูตรคำนวณค่า TSER อย่างง่าย ไม่ต้องเป็นนักฟิสิกส์

สำหรับตัวเลข TSER นั้น มีวิธีคำนวณจากสูตรแบบนี้
 

%TSER = 44% x (100 - VLT) + 53% (IRR) + 3% (UVR) (H3)

 
ตัวเลข 44%, 53% และ 3% ในสูตรนี้คือสัดส่วนจริงของพลังงานแสงอาทิตย์ที่ส่องมาถึงโลกเราครับ ประกอบด้วย 44% เป็นแสงสว่างที่เรามองเห็น (VLT), 53% เป็นรังสีอินฟราเรดที่เรารู้สึกเป็นความร้อน (IR) และ 3% เป็นรังสียูวีที่มองไม่เห็นแต่ทำร้ายผิวเราได้ (UV) สูตรนี้จึงให้น้ำหนักพลังงานแต่ละรังสีตามความเป็นจริงที่ถูกต้อง
 
ตัวอย่าง สมมติว่าฟิล์ม Lamina รุ่น A มีค่าสเปคดังนี้
  • VLT = 40% (แสงส่องผ่าน 40%)
  • IRR = 75% (กันรังสี IR 75%) 
  • และ UVR = 99% (กันรังสี UV 99%)
แทนค่าในสูตรจะได้: %TSER
 = 44%(100 - 40) + 53%(75) + 3%(99)
= 44%(60) + 53%(75) + 3%(99)
= 26.4 + 39.75 + 2.97 
= 69.12%
 
นั่นหมายความว่า ฟิล์มรุ่นนี้สามารถกันความร้อนจากแสงอาทิตย์ได้ประมาณ 69.12% ซึ่งถือว่าอยู่ในเกณฑ์ดีมากสำหรับการใช้งานในประเทศไทยที่มีอากาศค่อนข้างร้อนตลอดปีครับ เพียงเท่านี้ก็คงเห็นแล้วนะครับว่า แต่ละค่ารังสีมีผลกระทบต่อค่ากันร้อนรวม TSER อย่างไร ฉะนั้นจะเชื่อแต่ค่า IRR ไม่ได้นะครับ

กันร้อน IR 97-99%? มีจริงหรือ? เผยความจริงที่หลายคนเข้าใจผิด

บางครั้งท่านอาจเห็นฟิล์มกรองแสงบางแบรนด์ อ้างว่าฟิล์มสามารถกันรังสี IR ได้สูงถึง 97-99% ซึ่งมีความเป็นไปได้น้อยมากๆ ครับ อีกทั้งไม่ได้หมายความว่า จะกันความร้อนทั้งหมดได้ 99% จริงๆ แต่อาจเป็นการกัน 99% ของรังสี IR เท่านั้น “คิดเป็นแค่ 53% ของพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด” ตามสูตรด้านบน
น่าเป็นห่วงยิ่งกว่าคือ บางครั้งการอ้างค่ากันรังสี IR สูงๆ อาจเป็นการวัดเฉพาะแค่บางช่วงคลื่นเท่านั้น (เช่น 900nm-1400nm) ไม่ใช่ทั้งสเปกตรัม IR ที่มีตั้งแต่ 780nm-2500nm ทำให้เข้าใจผิดว่าฟิล์มนั้นกันความร้อนได้ดีกว่าความเป็นจริง
 

ขอบคุณภาพจาก: ScienceDirect
 
ในเมื่อรังสีอินฟราเรดคิดเป็นประมาณ 53% ของพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมด แม้จะเป็นแหล่งความร้อนหลัก แต่แสงสว่างและรังสี UV ก็มีส่วนทำให้เกิดความร้อนเช่นกัน นี่คือเหตุผลที่ TSER เป็นตัวบ่งชี้ที่แม่นยำกว่าในการวัดความสามารถของฟิล์มในการลดความร้อนโดยรวม
ลามิน่าขอแนะนำ: เมื่อเลือกซื้อฟิล์มที่เน้นการโฆษณาค่าสเปคกันรังสี IR เป็นหลัก เราควรตระหนักให้ดีว่านี่ใช่ค่ากันความร้อนที่แท้จริงแน่รี? มีมาตรฐานอะไรรับรองมั้ย  อีกทั้งต้องถามถึง "ช่วงความยาวคลื่นในการกันรังสี IR" ของฟิล์มนั้นๆด้วยว่า วัดจากช่วงคลื่นไหน เพื่อหลีกเลี่ยงการเข้าใจผิด
 
รีวิวจริง จากผู้เชี่ยวชาญด้านเทคโนโลยีรถยนต์ของไทย
ท้ายที่สุดแล้ว ลามิน่าแนะนำลองสัมผัสประสิทธิภาพการป้องกันความร้อนด้วยตัวเองในสภาพแวดล้อมท่ามกลางแสงแดดจริงก่อน ตัดสินใจดีกว่าครับ เพราะสเปคต่างๆ เป็นเพียงข้อมูลเบื้องต้นประกอบการตัดสินใจเท่านั้น ประสิทธิภาพในการใช้งานบนโลกความจริง แสงแดดจริง ต่างหากที่สำคัญที่สุด ไม่ใช่ดูแค่โลกของตู้ไฟที่อยู่ตามร้านฟิล์มทุกวันนี้ ลองดูรีวิวของ คุณสุรมิส เจริญงาม ผู้เชี่ยวชาญสายรถยนต์ตัวจริง คลิปนี้ได้ครับ https://www.laminafilms.com/th/lamina-films-review/81 ก่อนติดฟิล์มมีการนำเศษฟิล์มมาทาบกับกระจกด้วย เรียกว่าใส่ใจทุกรายละเอียด และได้ฟิล์มรุ่น Lamina Ceramic Onyx Boost ไปแบบตรงใจสุดๆ

ลามิน่า กับค่าสเปคฟิล์มมาตรฐานจริงจาก Eastman Performance Films,LLC USA

ฟิล์มลามิน่าทุกรุ่นได้รับการทดสอบตามมาตรฐานสากล ASTM / ASHRAE / AIMCAL / IWFA / EWFA / NAESCO / SKIN CANCER FOUNDATION / ISO9001 เนื่องจากเราคือ Distibutor ตัวแทนจำหน่ายอย่างเป็นทางการของโรงงานผลิตฟิล์มที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของโลก Eastman Performance Films, LLC, USA ทำให้ค่า TSER ที่เราระบุเป็นค่าที่เชื่อถือได้ ไม่มีการบิดเบือน และเป็นค่าที่ผู้ใช้รถทุกคนเชื่อมั่นได้เลย
 
คุณจันทร์นภา CEO ของลามิน่า กล้ายืนยันแหล่งที่มาของผู้ผลิตครับ
 
กล้าบอก กล้าพา กล้าโชว์แบบนี้ ก็เพื่อให้ลูกค้าทุกคนมั่นใจครับ ว่าคุณจะได้คุณภาพฟิล์มที่ตรงความต้องการ ได้มาตรฐานสูงสุดจาก USA จริงๆ สามารถลดความร้อนจากแสงแดด TSER ได้มากกว่า 70% และป้องกันรังสี UVA, UVB ที่เป็นสาเหตุของฝ้า กระ และมะเร็งผิวหนังได้กว่า 99% ตามที่ระบุในเอกสารทางเทคนิคของเราที่ทั่วโลกยอมรับครับ
 

สรุป

TSER คือค่าที่บอกถึงประสิทธิภาพโดยรวมของฟิล์มในการปกป้องคุณจากความร้อนรวมทั้งหมดที่มาจากดวงอาทิตย์ โดยรวมทั้งการจัดการกับแสงสว่าง (VLT) รังสียูวี (UV) และรังสีอินฟราเรด (IR) แม้ว่ารังสี IR จะเป็นแหล่งความร้อนหลักจากดวงอาทิตย์ แต่การพิจารณาเพียงค่ากันรังสี IR อย่างเดียวไม่เพียงพอ การเลือกฟิล์มที่ดีควรมองที่ค่า TSER ควบคู่กับปัจจัยอื่นๆ เช่น ความใส ทัศนวิสัย การรองรับสัญญาณดิจิทัล และการรับประกันของฟิล์ม ซึ่งลามิน่าฟิล์ม นอกจากเป็นฟิล์มคุณภาพที่ได้รับการยอมรับจากสถาบันระดับโลกมากมาย เรายังเป็นฟิล์มกรองแสงรายแรกที่กล้ารับประกันคุณภาพฟิล์มยาวนานถึง 7 ปีจริงมาตลอด 30 ปีที่ผ่านมา จนฟิล์มอื่นๆยึดเป็นแบบอย่างให้ก้าวตาม  และลามิน่าจะยังคงอยู่คู่ผู้ใช้รถคนไทยต่อไปอย่างมั่นคงตลอดไปครับ
 
บทความที่เกี่ยวข้อง
 
อ้างอิง
1.
https://tintedfilm.com.my/whats-the-difference-between-vlt-ir-tser-and-uv/
2.
https://paccofilms.com/difference-between-ir-rejection-and-tser/
3.
https://www.sciencedirect.com/topics/physics-and-astronomy/solar-spectra


สอบถามข้อมูลฟิล์มรถยนต์ลามิน่าเพิ่มเติมได้ที่
โทร. 02-422-2345
Facebook: m.me/LaminafilmsHQ
@LINE: https://lin.ee/ot1aDYm