ติดฟิล์มลามิน่า บูสต์ชีวิตให้เป็น 1 กับโลกดิจิทัล - Boost Up your Life

7 วิธีเลือกซื้อฟิล์มรถยนต์ แบบไหนดี แบบไหนเหมาะกับคุณ

SHARE

 
จะเลือกซื้อฟิล์มติดรถยนต์ทั้งที ก็ต้องเอาที่ดีและชัวร์ไปเลยจริงไหมครับ! เพราะอายุการใช้งานฟิล์มรถยนต์ที่ดีมีคุณภาพนั้นสามารถอยู่ดูแลคุณได้มากกว่า 7 ปีเลยทีเดียว แต่จะรู้ได้ยังไงว่า “ดี” และ “ชัวร์” ว่าเป็นฟิล์มคุณภาพสูงจากอเมริกา เพราะถ้าเจอฟิล์มเกรดคุณภาพต่ำล่ะก็ ภายในเวลาไม่ถึง 1-2 ปี ก็จะมีอาการฟิล์มเสื่อมสภาพ กันให้เห็นแล้ว แถมฟิล์มกรองแสงเองยังมีหลากหลายประเภท ทั้งวัสดุในเนื้อฟิล์มที่แตกต่างกันไป สีฟิล์มรถยนต์ก็มีมากมาย ระดับความความเข้มก็มีตั้งแต่ ฟิล์มรถยนต์ 40 / 60 / 80 หรือมากกว่า นี่ยังไม่ได้พูดถึงเรื่องสเปคด้านประสิทธิภาพของฟิล์มกันเลยนะครับ…
ก่อนที่เราจะลงรายละเอียดกันมากกว่านี้ มาดูกันดีกว่าครับว่าก่อนที่จะเลือกซื้อฟิล์มรถยนต์ทั้งที มีอะไรที่เราจำเป็นต้องศึกษาหาข้อมูลก่อนตัดสินใจบ้าง ติดตามได้จากบทความนี้กันเลยครับ
 
เลือกอ่านตามหัวข้อที่สนใจ ได้ที่นี่
 
 

ฟิล์มรถยนต์มีกี่แบบ? ต่างกันยังไง

ฟิล์มรถยนต์มีกี่แบบ? ต่างกันยังไง

ก่อนเราจะไปดูกันว่า เลือกติดตั้งฟิล์มรถยนต์แบบไหนดี? เรามาทำความรู้จักกันก่อนดีกว่าครับ ว่า “ฟิล์มรถยนต์ มีกี่แบบ?” มาดูประเภทของฟิล์มรถยนต์ที่มีอยู่ในตอนนี้กันก่อนครับผม แบ่งตามนี้เลย
 
ประเภทฟิล์มรถยนต์
ประเภทฟิล์มรถยนต์
ชมภาพตัวอย่าง และรายละเอียดแบบจัดเต็มที่ได้
บทความ “ฟิล์มรถยนต์” นะครับ
 
1. ฟิล์มย้อมดำ เป็นเพียงแผ่นฟิล์มที่ย้อมด้วยสีดำเท่านั้น เน้นความเป็นส่วนตัวแต่ไม่ตอบโจทย์การกันร้อนใดๆ เพราะไม่มีสารป้องกันความร้อนอะไรเลย ฟิล์มประเภทนี้ราคาขายจะถูกมากๆ หลักร้อยหรือไม่กี่พัน ยิ่งสำหรับเมืองร้อนประเทศไทยอย่างเรา ใช้ไม่กี่เดือน ฟิล์มก็ซีดจางเสื่อมแน่นอน ไม่แนะนำอย่างยิ่งครับ
2. ฟิล์มโลหะ พูดชื่อนี้อาจสงสัย แต่ถ้าสำหรับคนไทยเรา คงคุ้นหูกันในชื่อของ “ฟิล์มปรอท” กันเป็นอย่างดี ฟิล์มประเภทนี้จะมีการเคลือบ/ผนึกไอโลหะ บนเนื้อฟิล์ม จุดเด่นคือเงามาก สะท้อนแสงสูง การกันร้อนดี มีหลายสีให้เลือก ส่วนใหญ่มักไม่รองรับสัญญาณดิจิทัลต่างๆ
3. ฟิล์มใสกันร้อน ก่อนที่จะมาถึงยุคฟิล์มเซรามิค (ซึ่งจะกล่าวในข้อถัดไป) นี่คือฟิล์มชนิดพิเศษที่กลุ่มผู้ใช้รถระดับ High-End นิยมกันอย่างมากครับ เพราะต้องการโชว์ความสวยงามภายในรถ และเนื่องจากมีความใส แต่ยังมีประสิทธิภาพการกันความร้อนได้ดีถึงดีมาก ทำให้ต้องใช้เทคนิคการผลิตที่มีความพิเศษกว่าฟิล์มทั่วๆ ไป ทำให้ราคาค่อนข้างสูง
4. ฟิล์มเซรามิค นี่คือฟิล์มมาตรฐานที่กำลังเป็นที่นิยมของรถยนต์ยุคดิจิทัลปัจจุบันนี้ ส่วนใหญ่ใช้เทคนิคผลิตฟิล์มแบบ Magnetron Sputtering ในการทำให้อนุภาคของเซรามิคเข้าไปผนึกฝังอยู่ในเนื้อฟิล์มแบบเซรามิค 100% หรืออาจมีการผสมสารอื่นเพิ่มเติมเข้าไป เช่น แพตทินัม โลหะเงิน/ทอง โดยคุณสมบัติเด่นคือ กันความร้อนได้ดีเยี่ยม สีฟิล์มเข้มนอกสว่างใน สะท้อนแสงต่ำ ให้วิสัยทัศน์ที่เคลียร์ใสทั้งกลางวัน-กลางคืน และที่สำคัญที่สุดไม่ปิดกั้นของสัญญาณดิจิทัล ซึ่งถ้าเป็นฟิล์มเซรามิคแท้จะมีราคาสูงพอสมควร
5. ฟิล์มชาโคล อีกหนึ่งประเภทของฟิล์มคุณภาพสูง ที่พัฒนาจากฟิล์มคาร์บอน และฟิล์มเซรามิคในปัจจุบัน โดยมีคุณสมบัติใกล้เคียงกับฟิล์มเซรามิค ทั้งเทคโนโลยีการผลิต สีฟิล์ม การกันร้อนที่ดี สะท้อนแสงต่ำ ภายนอกเข้มเป็นส่วนตัว แต่ความเคลียร์ใสจากมุมมองภายใน ฟิล์มเซรามิคจะยังได้เปรียบกว่าเล็กน้อยครับ อย่างไรก็ตามด้วยราคาติดตั้งของฟิล์มชาโคลก็เป็นจุดเด่นที่ผู้ใช้รถสามารถเอื้อมถึงได้ง่ายกว่าฟิล์มเซรามิคมาก แถมได้ประสิทธิภาพที่ดีไม่แพ้ฟิล์มเซรามิคมากนัก แต่คุ้มค่าเงินในภาวะเศรษฐกิจยุคนี้มากกว่าแน่ๆ
6. ฟิล์มนิรภัย มีจุดเด่นด้านความหนาของเนื้อฟิล์มที่มีมากกว่าฟิล์มกรองแสงทั่วไป ซึ่งฟิล์มปกติจะหนาไม่เกิน 1.5 mil. แต่ฟิล์มนิรภัยจะมีความหนาไม่น้อยกว่า 4-16mil. จึงให้ความทนทานกว่า 10 เท่า นอกจากจะช่วยกันร้อนได้ดี ยังช่วยเพิ่มความปลอดภัยให้ทรัพย์สินภายในรถจากการโจรกรรมได้อีกด้วย
7. ฟิล์มดิจิทัล ฟิล์มนวัตกรรมใหม่ล่าสุดที่ต่อยอดจากฟิล์มเซรามิคเกรดคุณภาพสูง โดยออกแบบมาเพื่อตอบรับเทคโนโลยียานยนต์อนาคตที่เกิดขึ้นในยุคนี้ โดยฟิล์มดิจิทัลจะมีคุณสมบัติเด่นในเรื่องการรองรับสัญญาณดิจิทัลทั้ง 5G /WIFI เต็มรูปแบบ ที่ส่วนใหญ่ต้องใช้ในระบบสมองกล AI ในรถยุคใหม่ อาทิ ระบบ ADAS /Infotainment / AutoUpdate software & firmware on the air เป็นต้น เสริมระบบไฟฟ้า และช่วยประหยัดพลังงานให้รถยนต์ EV / Hybrid หรือ smart car ได้อย่างดี
 
ติดฟิล์มนิรภัย ต้องทุบกี่ครั้งกระจกถึงจะแตก ป้องกันโจรกรรมได้ยังไง
 
พิสูจน์กันให้เห็นในคลิปนี้ คลิกชมนาทีที่ 0.38 ได้เลยครับ
 
แม้ราคาเริ่มต้นจะสูงถึง 24,000 บาท / คัน แต่มูลค่าทรัพย์สินที่ฟิล์มนิรภัยสามารถป้องกันความเสี่ยงให้คุณได้นั้น เรียกได้ว่าอาจประเมิณค่าไม่ได้เลย หากชมคลิปแล้วสนใจติดตั้ง สามารถอ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ ฟิล์มนิรภัย LLumar Safety ครับ
 
 

7 วิธีเลือกฟิล์มแบบไหนดี…ดูที่อะไรบ้าง?

7 วิธีเลือกฟิล์มแบบไหนดี…ดูที่อะไรบ้าง?

จากที่กล่าวไว้ข้างต้นว่า ฟิล์มแต่ละรุ่นจะมีคุณสมบัติแตกต่างมากมาย สำหรับฟิล์มลามิน่าเองก็มีให้คุณเลือกตามความต้องการมากเกือบ 50 รุ่น เพราะฉะนั้น วิธีการเลือกฟิล์มแบบง่ายๆ ที่ลามิน่าอยากแนะนำ ก็คือการไล่ดูไปทีละปัจจัยต่างๆ ซึ่งเราสรุปมาให้ 8 ข้อด้วยกัน จากนั้นก็ค่อยๆ ตอบตัวของท่านเองไปทีละข้อ เสร็จแล้วคุณอาจพบคำตอบชัดเจนขึ้น มาลองดูกันครับว่า 8 ปัจจัยนั้นมีอะไรบ้าง

1. กันความร้อนได้ดี มีชัยไปกว่าครึ่ง

เพราะเราติดฟิล์มโดยมีวัตถุประสงค์หลักเพื่อกันความร้อนใช่มั้ยล่ะครับ ฉะนั้น สิ่งนี้ควรเป็นสิ่งแรกที่พิจารณาเลยว่าฟิล์มที่เราสนใจเลือกติดตั้งอยู่นั้น สามารถกันความร้อนได้ดีเพียงพอกับการใช้งานหรือไม่ โดยฟิล์มกรองแสงแต่ละรุ่นแต่ละชนิดนั้น จะมีสเปคบอกความสามารถในการป้องกันความร้อนอยู่ครับ มีค่าต่างๆ ไม่ว่าจะเป็น
VLT = Visible Light Transmission คือ ค่าแสงส่องผ่าน
VLR = Visible Light Rejection คือ ค่าการสะท้อนแสง
UVR = UV Rays Rejection คือ ค่าการลดรังสี UV
TSER = Total Solar Energy Rejection คือ ค่าการลดความร้อนจากแสงแดดจริง
IRR =  Infrared Rays Rejection คือ ค่ากันร้อนจากรังสีอินฟราเรด
ทุกค่าล้วนมีผลต่อประสิทธิภาพการกันร้อนไม่ว่าทางตรงก็ทางอ้อม แต่เพื่อความเข้าใจง่ายไม่ซับซ้อนเกินไป ลามิน่าแนะนำให้ท่านดู TSER เป็นหลักครับ เพราะเป็นสเปคที่การวัดค่าต้องวัดกับแสงอาทิตย์โดยตรง (และเราก็ขับรถท่ามกลางแสงอาทิตย์จริงไหมครับ? Make Sense กว่าการเอาค่า IRR มาวัดประสิทธิภาพฟิล์มด้วยแสงจากหลอดไฟสปอตไลท์เยอะ)  เพราะฉะนั้น ดูที่ค่า TSER ครับ ยิ่งสูงก็ยิ่งหมายความว่ากันความร้อนได้ดีนั่นเอง
 
ดูข้อมูลเกี่ยวกับการอ่านสเปคฟิล์มแบบละเอียดกันต่อได้ที่ ฟิล์มกรองแสง นะครับ
 

2. ระดับความเงา ชอบแบบไหน 

สเปคฟิล์มที่ช่วยบ่งบอกระดับความเงาของฟิล์ม คือค่า VLR นั่นเองครับ ยิ่งค่าสูงฟิล์มยิ่งเงามาก ถึงขั้นสะท้อนแสงเหมือนกระจกก็มี ยิ่งน้อยฟิล์มก็ยิ่งมีความเงาต่ำ ให้เห็นภาพกันง่าย ๆ ลองดูตามภาพตัวอย่างได้เลยครับ แม้สีฟิล์มจะเป็นโทนสีดำเหมือนกันแต่สังเกตความเงา “มีความแตกต่างกันชัดเจน”

ชอบแบบไหนมากกว่ากันครับผม?
ฟิล์มดำ
ภาพตัวอย่างเปรียบเทียบ ฟิล์มดำ กับ ฟิล์มเซรามิค
 
จะเลือกฟิล์มเงามาก หรือเงาน้อยล้วนแต่เป็นเรื่องของรสนิยมครับ ถ้าได้คำตอบในใจว่า ชอบความเงาวาว (แบบฝั่งซ้าย) อันนี้ต้องไปทางฟิล์มปรอท (หรือฟิล์มโลหะ) เพราะว่าโลหะที่ผนึกบนแผ่นฟิล์มมีความเงาสะท้อนแสงนั่นเอง เมื่อนำมาเคลือบที่แผ่นฟิล์มจึงทำให้เนื้อฟิล์มมีคุณสมบัตินี้ไปด้วย
แต่ถ้าคำตอบของคุณ คือชอบฟิล์ม แบบเงาน้อย สะท้อนแสงต่ำ (แบบฝั่งขวา) ก็ต้องไปทางฟิล์มเซรามิคหรือฟิล์มชาโคลครับ เพราะไม่ว่าจะเป็นเซรามิคหรือชาโคล (ถ่าน) ต่างก็เป็นอโลหะซึ่งไม่มีคุณสมบัติเงาวาวนั่นเอง
ข้อมูลเพิ่มเติม สำหรับฟิล์มที่มีค่าสะท้อนแสงตั้งแต่ VLT > 30% ขึ้นไป จะมีข้อจำกัดที่ควรคำนึง นั่นคือ เวลาขับกลางคืนจะสะท้อนแสงไฟค่อนข้างชัดเจน ทำให้อาจเห็นริ้วแสงไฟส่องเข้าตาค่อนข้างเยอะ หรือสะท้อนคอนโซลจนเหมือนติดกระจกเงาภายในรถ ซึ่งอาจรบกวนทัศนวิสัยในการขับขี่ ฉะนั้นหากใจเลือกฟิล์มเงาจริงๆ อย่างน้อยก็เหลือกระจกบานหน้าสัก 1 บาน ที่มีค่าสะท้อนแสงไม่เกิน 20% (VLT) เพื่อทัศนวิสัยการขับขี่ที่ดีของท่านเองครับ
 

3. ชอบสีแบบไหน

ฟิล์มรถยนต์ในปัจจุบัน มีหลากหลายเฉดสีครับ ทั้งฟิล์มรถยนต์สีเขียว, ฟิล์มรถยนต์สีฟ้า, ฟิล์มรถยนต์สีชา, ฟิล์มรถยนต์สีเทา และฟิล์มรถยนต์สีดำ
อย่างไรก็ตาม ถ้าคุณเป็นคนที่เนี๊ยบเรื่องสีฟิล์มจริงๆ (โดยเฉพาะเจ้าของรถแต่งซิ่ง ที่ชอบโทนสีกระจกเฉพาะเจาะจง) อย่าลืมนำตัวอย่างสีฟิล์มลองไปทาบกับเนื้อกระจกให้เห็นภาพชัดเจนขึ้นนะครับ เนื่องจากกระจกที่ติดมากับรถแต่ละรุ่นเองนั้นก็มีสีเดิมอยู่แล้ว ฉะนั้นเมื่อติดฟิล์มทับเข้าไปจึงอาจได้เฉดสีที่ต่างไปจากเดิมเล็กน้อยได้ครับ
 
รู้หรือไม่!
ที่โรงงาน Eastman Performance Films โรงงานผลิตฟิล์มอันดับ 1 ของโลกจากอเมริกา (แหล่งที่มาของ Lamina Films ของเรา) ในขั้นตอนการผสมสีที่ฝ่าย Dye House (แผนกย้อมสี) จะเป็นการนำแม่สีหลักทั้ง 3 สี ไม่ว่าจะเป็น สีแดง สีเหลือง สีน้ำเงิน มาผสมผสานในอัตราส่วนแตกต่างกันในก้องสุญญากาศ จนเกิดเป็นเฉดสีที่ต่างกันได้มากถึง 4,000 กว่าสีเลยทีเดียว! 
ถ้าอยากเห็นภาพจริงของฟิล์มรถยนต์สีแบบต่าง ๆ ว่าจะมีสีอะไรบ้าง? เฉดไหนบ้าง? เรารวบรวมมาให้แล้วครับ! กดที่ภาพ เพื่อตามไปดูกันต่อได้เลยครับ
 
สีฟิล์มรถยนต์
 

4. ชอบความเข้มระดับไหน

หลายท่านที่กำลังอ่านประโยคนี้อยู่ น่าจะเคยได้ยินผ่านหูกับคำว่า “ฟิล์ม 40 / ฟิล์ม 60 / ฟิล์ม 80” กันมาบ้างแน่เลยครับ ตัวเลขเหล่านี้เป็นตัวเลขที่คนไทยคุ้นชินว่าเป็นค่าแสดง“ความเข้มของฟิล์ม” ถ้าฟิล์มรถยนต์ 80 ก็คือมีความเข้มสูงมาก (ในทางตรงกันข้าม ฟิล์มรถยนต์ 40 ก็คือ ความเข้ม/ความทึบน้อย ฟิล์มค่อนข้างใสและสว่าง) 
แต่ความจริงแล้ว ในการที่เราจะเลือกซื้อฟิล์ม สเปคที่บ่งบอกถึงความเข้มฟิล์มได้จริและชัดเจน ก็คือค่า VLT นะครับ (ที่อเมริกาไม่มีค่า ฟิล์ม 40 / 60 / 80 นะคร้าบบบ) โดยที่ยิ่ง %VLT ยิ่งน้อย หมายถึงแสงส่องเข้ามาได้น้อย ความเข้มก็จะยิ่งมากนั่นเอง
 
ค่า VLT คือ
ภาพเปรียบเทียบสเปคความเข้ม
ระหว่างระบบ 40/60/80 แบบไทย กับค่า %VLT
 
หากมีข้อสงสัยเพิ่มเติมเกี่ยวกับ ความเข้มฟิล์มรถยนต์  อ่านเพิ่มเติมได้ที่บทความ “ติดฟิล์มรถยนต์ 40 / 60 / 80” ได้เลย เจาะลึกทุกรายละเอียดแบบฉบับที่มีเฉพาะช่างติดฟิล์มเท่านั้นที่รู้ แต่เรานำมาเขียนเรียบเรียงให้เข้าใจง่ายๆ ไว้แล้วที่นี่
 

5. แบรนด์และแหล่งผู้ผลิต มีความน่าเชื่อถือหรือไม่?

เราจะซื้อฟิล์มกรองแสงรถยนต์ที่อยู่กับเราไปอย่างยาวนานทั้งที ควรเลือกฟิล์มกรองแสงที่มาจากแบรนด์ที่น่าเชื่อถือ สามารถตรวจสอบแหล่งที่มาได้ (ฟิล์มลามิน่าทุกรุ่นได้รับมาตรฐานสากลจากโรงงานอันดับ 1 จากสหรัฐอเมริกา มาตรฐาน ISO9001 สามารถตรวจสอบได้ครับ) 
รวมทั้งหากเป็นแบรนด์ที่อยู่ในตลาดฟิล์มกรองแสงมาอย่างยาวนาน ก็จะยิ่งช่วยเพิ่มความมั่นใจทั้งในด้านของคุณภาพฟิล์มกรองแสงที่มีมาตรฐานเดียวกันในทุกม้วนฟิล์ม พร้อมบริการหลังการขายที่ดูแลคุณได้จริงตลอดอายุการใช้งานของฟิล์มครับ อย่างน้อยเราขอฝากเคสตัวอย่างจริงให้ลองเปรียบเทียบกันดูแบบนี้ครับ
 
Case 1 Case 2
ฟิล์มแบรนด์ A การันตีคุณภาพฟิล์ม 18 ปี
แต่เพิ่งเปิดบริษัทมาได้ไม่ถึง 5 ปี
ฟิล์มลามิน่ารับประกัน 7 ปี
แต่อยู่ดูแลผู้ใช้รถคนไทยมานานเกือบ 3 ทศวรรษ

การรับประกันฟิล์มแบบไหน…อุ่นใจกว่า
เห็นแบบนี้แล้ว มีความเห็นว่าอย่างไรบ้างเอ่ย ?

 

6. ราคาที่เหมาะสมกับคุณภาพของฟิล์ม

ราคาของฟิล์มกรองแสงค่อนข้างมีความหลากหลายเลยทีเดียวครับ โดยจะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่าง ๆ เช่น ประเภทของฟิล์ม, เทคโนโลยีการผลิตที่ใช้, ตำแหน่งและจำนวนกระจกที่ติดตั้ง (ตามไปอ่านช้อมูลฉบับเต็มได้ที่บทความนี้เลยครับ กับเรื่องของ “ติดฟิล์มรถยนต์ ราคา?”) 
ดังนั้น ถ้าท่านผู้อ่านกำลังตัดสินใจว่าจะเลือกฟิล์มรถยนต์แบบไหนดี? ลองดูที่งบประมาณในใจของท่านก่อนได้ครับ เพราะฟิล์มที่ราคาย่อมเยาว์ แถมคุณภาพดีก็มีไม่น้อยเลยนะครับ ยกตัวอย่างเช่น Lamina Films ซีรีย์ POP, Genius และ Executive ที่เป็นฟิล์มยอดนิยมได้รับการยอมรับจากโชว์รูมรถยนต์ชั้นนำทั่วประเทศ กันความร้อนได้อย่างดี
แต่ถ้าหากท่านมีงบไม่จำกัด ก็จัดเต็มกับรุ่นที่พรีเมี่ยมได้เลยครับ! ที่ตอนนี้ Lamina Films เอง ก็มีฟิล์มรถยนต์ออกใหม่มาตอบโจทย์วิถีชีวิตยุค 5G อย่างเช่น Lamina Cerematrix Boost ดำนอก สว่างใน ผ่านทุกสัญญาณดิจิทัล ตอบโจทย์คนรักฟิล์มเซรามิคแท้ 100% อย่างแน่นอน หรือ Lamina CM One / CM Icon ก็เป็นรุ่นที่ได้รับความนิยมสูงมาก
 
Lamina Digital EV Boost ได้รับรางวัล Product of the Year 2022
จาก นิตยสาร Business+ ร่วมกับ วิทยาลัยการจัดการ มหาวิทยาลัยมหิดล
รวมถึงรุ่นล่าสุด Lamina Digital EV Boost ฟิล์มดิจิทัลเอไอเซรามิค ฟิล์มเซรามิคเกรดซุปเปอร์พรีเมี่ยม กันร้อนสูง ที่สามารถคว้า รางวัลสุดยอดฟิล์มกรองแสงแห่งปี  The Best Innovation & Product of the Year 2021-2022 เพื่อรถยนต์ไฟฟ้า ไฮบริด และสมาร์ทคาร์ยุคใหม่ ช่วยบูสต์ประสิทธิภาพระบบดิจิทัลภายในรถ อาทิ ADAS / Infotainment / Autoupdate software & firmware on the air  ทั้ง 5G และ WIFI ในรถคุณให้เร็ว แรง ลื่น เสถียร เต็ม 100
อย่างไรก็ตาม คุณผู้อ่านลองพิจารณาอีกทีก็ได้ครับ ว่าตัวเรามีไลฟ์สไตล์แบบไหน, รุ่นรถ-สีรถของท่านเหมาะกับฟิล์มรูปแบบใด ซึ่งไม่ว่าจะเป็นฟิล์มรถยนต์แบบไหน ที่ Lamina Films เรามีให้คุณครบทุกความต้องการ ตามงบประมาณที่เหมาะสมของคุณครับ  : )
 
ระวัง! ฟิล์มเซรามิคย้อมแมว
สำหรับคำถามที่ว่า “ฟิล์มรถยนต์แบบไหนดี?” หากอ่านมาถึงจุดนี้แล้วคำตอบเป็น ฟิล์มเซรามิค ล่ะก็ ก่อนเลือกซื้อต้องดูให้ดีนะครับว่าเป็นของแท้หรือของเทียม เพราะปัจจุบันฟิล์มเซรามิคในท้องตลาดมีคุณภาพหลายเกรดหลายราคามากๆ ถ้าให้สรุปสั้นๆ ก็คงหนีไม่พ้นคำพูดที่ว่า “ของถูกไม่มีดี ของดีไม่มีถูก” นั่นเอง รายละเอียดจะเป็นยังไงอ่านบทความนี้ ฟิล์มเซรามิคแท้ดูยังไง
 

7. เลือกร้านติดฟิล์มรถยนต์ที่มีความน่าเชื่อถือ

อาจเริ่มจากการดูสถานที่ติดตั้งฟิล์ม ควรทำใช้สถานที่ที่เหมาะสม มีการออกแบบมาเพื่อการติดฟิล์มโดยเฉพาะ นั่นคือ สามารถควบคุมและป้องกันฝุ่นละออง, ควบคุมความชื้น, ควบคุมแสงสว่างได้ จะได้ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานให้ทีมช่าง และช่วยลดความผิดพลาดที่อาจเกิดขึ้นได้ เช่น ฝุ่นจะเข้าไปแทรกอยู่ระหว่างเนื้อฟิล์มและกระจกในระหว่างที่ติดตั้ง, ฟิล์มไม่พอดีขอบ คราบความชื้น ฯลฯ
นอกจากนี้ ประสบการณ์ของทีมช่างก็เป็นสิ่งสำคัญ ความชำนาญของช่างจะช่วยให้งานติดตั้งฟิล์มออกมาเนี๊ยบ มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น ถ้ายังไม่มั่นใจ อาจลองหาดูตัวอย่างงานจากทางร้านว่ามีคนพูดถึงอย่างไร, มีผลงานการติดตั้งมากน้อยแค่ไหน ก็ได้ครับ
 
ช่างหลุยส์ฝากกระซิบมา…
จากประสบการณ์ในการติดตั้งฟิล์มรถยนต์มาหลากหลายคัน … รถยุโรป จะมีการติดตั้งที่ยากกว่ารถญี่ปุ่น เนื่องจากลักษณะความหนา และความโค้งของกระจกรถ รวมทั้งระบบภายในรถที่ต้องมีความระวังเป็นพิเศษกว่า อย่างเช่น เส้นไล่ฝ้าที่กระจกบานหลัง จะมีความเสี่ยงในการลอก (เส้นไล่ฝ้าขาด) ได้ง่ายกว่ารถญี่ปุ่น ดังนั้น ควรติดตั้งฟิล์มโดยช่างผู้เชี่ยวชาญ จะได้ปลอดภัยและมั่นใจกว่าครับ
 
วิธีติดฟิล์มรถยนต์บานหน้า
 
 

สรุป

จากวิธีที่ได้กล่าวไปทั้งหมด ขอสรุปแบบสั้น ๆ กันอีกสักครั้งนะครับ
  1. ดูค่า TSER เพื่อดู %ในการกันความร้อนจากแสงแดดจริง
  2. ดูค่า VLR เพื่อดูความเงาของฟิล์มว่าเราชอบแบบไหน
  3. ดูสีของฟิล์ม
  4. ดูค่า VLT เพื่อดูความเข้มของฟิล์ม
  5. ดูความน่าเชื่อถือของแบรนด์และแหล่งผลิตฟิล์ม
  6. ดูราคาเหมาะสมกับคุณภาพของฟิล์มหรือไม่
  7. ดูร้านติดฟิล์มรถยนต์ที่มีความชำนาญและน่าเชื่อถือไหม
หลังจากที่เราได้รู้กันแล้วว่าฟิล์มรถยนต์มีกี่แบบ และถ้าได้ตรวจสอบตามทั้ง 7 ข้อนี้แล้ว รับรองว่าเป็นอีกตัวช่วยที่ทำให้คุณผู้อ่านสามารถตอบคำถามในใจที่ว่า “ฟิล์มรถยนต์ แบบไหนดี” ได้ง่ายขึ้นแน่นอนครับผม